วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552
เด็กไทยกับการอ่านการ์ตูน
-ด้วยการเปลี่ยนแปลงของร้าน หนังสือให้เช่า ที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทำให้การอ่านการ์ตูนของคนสมัยนี้เปลี่ยนไป ถ้าเป็นสมัยกว่าจะอ่านจบก็ต้องมีความอดทนเป็นเลิศ เพราะกว่าตอนใหม่ เล่มใหม่จะออกรอกันจนลูกบวช แถมคนที่อยู่ต่างจังหวัด ไกลปืนเที่ยงไม่ต้องพูดถึง ล้มเลิกความตั้งใจที่จะสะสมการ์ตูนเรื่องนั้น ๆ ให้ครบชุดกันไปหลายราย
-ตอนนี้มีวิวัฒนาการใหม่ ไม่ต้องชื้อเองใช้วิธี "เช่า" ซึ่งราคาก็ไม่แพงอะไรมาก ประมาณ 10 เปอร์เซนต์ของราคาหน้าปกซึ่งก็พอรับได้ แถมในร้านมีหนังสือหลายแนวไว้ให้บริการ ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำให้กับผู้ให้บริการร้านเช่าการ์ตูนไทย (ผมไม่รู้ว่าต่างประเทศมีลักษณะอย่างนี้หรือเปล่า) มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ผู้อ่านได้อ่านการ์ตูนที่ตนเองชื่นชอบ ในราคาถูก ไม่เสียเวลาในการคอยติดตามว่าจะเล่มใหม่จะออกเมื่อไร (เขาจะบอกเราเองเพื่อเป็นการดึงดูดใจ) คนให้เช่าก็ได้ค่าตอบแทนตามแต่ความสมควร(น่าจะเป็นกอบเป็นกำ) วิน วิน กันทั้งสองฝ่าย
-แต่ก็ใช่ว่ามันจะมีข้อดีไปเสียหมด เพราะคนอ่านสมัยนี้สามารถเสพเนื้อหาได้ง่ายมาก ทำให้ความซาบซึ้งในเนื้อหานั้นไม่มี จะเป็นลักษณะฉาบฉวยซะมากกว่า ทำให้เด็กสมัยนี้ฉาบฉวยกับสิ่งต่าง ๆ หาความอดทน ละเมียดละไม ไม่ได้ ซึ่งไม่รู้ว่า ข้อเสียอันนี้จะนำพาอนาคตของชาติเราไปในทิศทางไหน อันนี้ก็เป็นปัญหาให้เราต้องคิด และติดตาม
วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552
Web Site กับ วิวัฒนการยุค Web 2.0
เวปไซต์หลาย ๆ แห่งมีการแสดงผลที่สวยงาม น่าตื่นตาตื่นใจ แถมมีระบบการอำนวยความสดวกครบครัน ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับนักออกแบบเวปไซต์ว่าอยากให้เวปตัวเองออกมาอย่างไรให้ผู้เข้าชมมีการตอบรับที่ดี
หลายคนฝันที่จะได้เวปไซต์ที่สวยงาม มีคนเข้าชมเป็นจำนวนมาก และอยากให้เวปไชต์ของตัวเองมีบริการที่หลากหลาย ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก เรามีเครื่องมืออำนวยความสดวกมากมายให้เลือกใช้ขึ้นอยู่กับไอเีดียของแต่ละคน หรืออาจจะพูดได้ว่าฝันให้ไกลไปให้ถึง
ในยุคแห่ง web 2.0 นี้การมีเวปไซตส่วนตัวไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ไม่เหมือนเมื่อสี่ห้าปีก่อนที่ คนที่จะมีเวปได้ต้องเป็นคนที่มีความรู้มาก และมีทุนในการเปิดเวปไซต์ แต่เดียวนี้ บุคคลทั่วไป แม้แต่นักเรียนนักศึกษา ก็มีเวปไซต์ส่วนตัวกันทั้งนั้น ซึ่งเราสามารถเห็นได้ทั่วไปในลักษณะ เวปบล๊อก ซึ่งเป็นเวปไซต์ที่ส่วนใหญ่สามารถสร้างได้ฟรี และมีเครื่องมือที่จำเป็นให้ครบ โดยที่เจ้าของเป็นคนสร้างเนื้อหาบนของตัวเองขึ้นมา แล้วอัปโหลดขึ้น เวปบล๊อกของตัวเอง ถ้าเป็นเมื่อหลายปีก่อนบอกได้คำเดียวว่า ยุ่งยาก ลำบาก &
การทำเวปไซต์ สมัยก่อน ต้องเช่า โฮสท์ เพื่อเก็บข้อมูลตัวเอง ต้องสร้างเวปไซตท์ในรูปแบบเอกสาร HTML ด้วยตัวเอง โดยใช้ โปรแกรมแก้ไขข้อความ (Text Editor) ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ ข้อมูลจึงค่อนข้างดิบ และไม่ทันสมัย ใช้เวลานานกว่าจะได้เอกสารพร้อมภาพประกอบ ที่จัดหน้าอย่างสวยงามออกมาสักหน้า นอกจากนั้น ก็ต้องรู้จักโปรแกรมถ่ายโอนข้อมูลขึ้นสู่เซิิฟเวอร์ (FTP) เพื่อที่จะอัพโหลด เอกสารของตัวเองไปเผยแพร่ นี่ยังไม่รวมการทดสอบ แก้ไข ซึ่งต้องใช้แรงกาย แรงใจเป็นอย่างมาก จะมาอัพเวปทุกวัน วันละหลาย ๆ เนื้อหา แทบเป็นไปไม่ได้เลย อยากมากก็อาทิตย์ละ หน้าสองหน้า
ยุคอินเตอร์เน็ต เฟื่องฟู เวป 2.0 ก็เข้ามาทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นไปในทางที่ดีขึ้น คนทั่วไปซึ่งเมื่อก่อนเข้าอินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าชมเนื้อหาในเวปไซต์ แต่เดี๋ยวนี้ คนเหล่านั้นสามารถเป็ผู้สร้างเนื้อหาให้ บุคคลอื่นมาเข้าชมเนื้อหาเราได้ สิ่งที่กล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สิ่งต้องมีคือ การเข้าถึง อินเตอร์เน็ต และความคิดดี ๆ ในการถ่ายทอดเนื้อหาที่ตัวเองถนัึด จากนั้นก็จะมีคนเข้ามาดูเนื้อหาที่เราเป็นผู้สร้างเอง นอกจากนั้นยังเปิดให้ผู้เข้าชมสามารถที่จะใส่การวิจารณ์ (Comment) ให้กับเนื้อหาของเราได้อีกด้วย ในขณะที่เราก็เป็นผู้ชมคนหนึ่งและสามารถเข้าไปให้คำวิจารณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับเจ้าของเนื้อหาได้ ถ้าเป็นสมัยก่อนนั้น เราสามาถดูเนื้อหาได้อย่างเดียว ชอบ ไ่ม่ชอบ หรือรู้สึกอย่างไรก็สื่อถึงคนผลิตเนื้อหาไม่ได้
สามารถสรุปได้ว่า ยุคสมัยนี้ เวปไชต์ใน อินเตอร์เน็ต เป็นยุคที่ผู้ชมสารถสร้างเนื้อหาขึ้นมาเอง และแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้เกิดเป็นสังคมย่อย และใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีเนื้อหามากมายในอินเตอร์เน็ต และที่สำคัญการสร้างเวปไซต์ในโลกไซเบอร์นั้นก็ง่ายดายเสียเหลือเกิน โดยผ่านบริการยอดฮิตอย่างเวปบล๊อก เราจึงมีโอกาสได้สัมผัสเนื้อหาหลากหลายแบบมากมาย ที่ใหม่สด เสมอ
วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552
Thai Programer @ HTML Reference
ทำอย่างไรถึงจะรู้และเก่ง HTML ซึ่งเป็นภาษาหลักในการสื่อสารผ่านโลกไซเบอร์ที่อินเตอร์เนตเติบโตอยู่ทั่วบ้านทั่วเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งเป็นผู้เสพข้อมูล และผู้สร้างข้อมูล (ติดต่อสองทาง) คำตอบคือ ศึกษา ศึกษา และศึกษา หนังสือ คือหนึ่งทางเลือก สอบถามจากผู้รู้หรือมีครูอาจารย์เป็นทางเลือกทีสอง และใช้ HTML (Internet) ศึกษาตัวมันเองก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว
ยกตัวอย่างเช่น เราศึกษาเรื่อง HTML หรือเรื่องต่าง ๆ ที่เราสนใจ แล้วก็ทำการเผยแพร่สิ่งต่าง ๆ ที่เรารู้เป็นเวป Blog ของเราเอง อันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีและน่าชื่นชม ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ
- ได้ศึกษาเรื่องที่ตัวเองสนใจ เช่น HTML คือ อะไร
- จดบันทึกความรู้ที่ตัวเองศึกษามาลงใน Blog
- ฝึกการใช้ HTML ไปในตัว เพราะต้องปรับแต่ง ต้องแก้ไข เกิดปัึญหา และสามารถแก้ปัญหาได้
- เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องที่ตัวเองสนใจ ซึ่งหาได้ยากในโลกเป็นจริงเนื่องจากความไม่สดวกหลาย ๆ ประการ
- ถ้ามีผู้เข้ามาเยี่ยมชมก็จะเกิด ชุมชนเสมือนขึ้น
เก้าลอเก้า (มากมาย)
จากข้อความข้างบน ทำให้ผมผู้ซึ่งกำลังศึกษา HTML อยู่ก็ต้องศึกษาโดยใช้ Internet และก็ใช้ HTML มาศึกษา HTML ดังเวปลิงค์ของเวปไซต์ http://www.thai-programmer.com ซึ่งมีข้อมูลต่าง ๆ ในการศึกษาและพัฒนาเวปไชต์ให้เราได้ดูกัน ผมเลยเก็บไว้ในเวปบล๊อกตัวเอง เพื่อนเป็นอ้างอิงเวลาผมอยากศึกษาเพิ่มเติม
DHTML Book เป็นหนังสือเล่มล่าสุดที่ผมเพิ่งซื้อมา
จริง ๆ แล้วอยากได้หนังสือเกี่ยวกับ CSS มากกว่า เพราะอยากมีหนังสืออ้างอิงเรื่องการตกแต่ง Style ของหน้าเวปเพจ โดยเฉพาะบล๊อกแห่งนี้ แต่หาไม่เจอ และเนื่องด้วยการศึกษาการทำเวปไซต์ เวปเพจ ต่าง ๆ มีการพัฒนาไม่สิ้นสุด แถมยังน่าสนใจสำหรับมือใหม่อย่างเรา จึงมีหลายเรื่องที่ต้องศึกษา ปกติก็หาอ่าน ตามเวปอยู่แล้ว แต่อย่างว่า แหละข้อมูลมันเยอะ เลยจัดหมวดความรู้ให้ตัวเองไม่ได้ เอาเป็นว่าในเวปนั้นให้เป็นส่วนเสริมไปดีกว่า อยากรู้ส่วนหลักก็ต้องพึ่งหนังสือคู่มือ
หนังสือ DHTML นี่แหละคือคำตอบ ซึ่งมีทุกอย่างทุกเรื่องที่เราอยากรู้ ถ้าอยากหา หรือ อยากรู้รายละเีอียดเพิ่มเติมต้องหาอ่านเอาเองจากเวปได้ แต่ต้องรู้ในองค์รวมก่อน
๊๊Ubuntu 9.04 (Jaunty) Tweak
แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ผมเองก็ได้ปันใจให้กับ โอเพ่นซอร์ส อย่างลินุกซ์ไปแล้ว การที่จะละทิ้งไปแล้วไม่หันกลับมาก็ใช่ที่ เลยวันนี้ได้เอาบทความการ ปรับแต่ง(Tweak) เพื่อให้อูบุนตู 9.04 เราทำงานได้ดีขึ้นของบุคคลที่เรารู้จักดีในวงการมาให้ดูตามลิงค์ครับ
ปล. เป็นการเก็บเป็นข้อมูลเตรียมไว้ ก่อนวันออกจริง
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2552
Sexy Stars on DotA
พูดถึง Online Gameที่หนึ่งในดวงใจ ขอยกให้ Warcraft III DotA ครับ เป็นเกมออนไลน์ ที่เล่นกัน 10 คน แบ่งข้างละ 5 เพื่อรวมพลังกันตีฐานที่มั่น (BASE) ของอีกฝ่าย ตัวละครที่ผมชอบเล่นมักจะเป็น ผู้หญิง และตัวละครในดวงใจก็มีหลายตัว (รูปข้างบน) ส่วนรูปเต็ม ๆ ของคุณเธอ ๆ ทั้งหลายอยู่ข้างล่างนะครับ เดากันเอาเองว่าใครเป็นใคร...
แนะนำ เวป OpenSource Club ใหม่ที่ http://opensuseclub.com
(http://suseclub.com)ซึ่งเป็นเวปคลับคนรักลินุกส์ ดิสโทร OpenSuse ของคนไทย
หน้าเวปสวยดีเป็นธีม(Theme) สีเขียวกับกิ้งก่า อยากรู้จังว่าความหมายมันคืออะไร ไม่แน่ใจเวปนี้มีคนดูแล กับสมาชิกเ่ท่าไร เนื่องจากเป็นเวปเปิดใหม่และต้องใช้เวลาในการหาลูกค้า อิอิ..
ผมเองก็เป็นแฟน OpenSource คนหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสได้รู้จักคำว่า OpenSorce และ Linux ผ่าน Ubuntu PE ของคุณสมเจตน์ เนื่องจากเพิ่งเริ่มศึกษา เลยไม่มีแนวทางที่ชัุดเจนของตัวเอง ว่าเป็นเด็กใคร (เพ่..รู้เปล่า ผมเด็กใคร?) ตอ้งศึกษาไปเรื่อย ๆ ก่อนเพื่อหาแนวทางของตัวเอง...
วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552
How to to be a good Blog.
และในอีกแง่มุมของ หก หลักการ ทำอย่างไรถึงจะเขียน บล๊อกออกมาให้ตรึงตรา ตรึงใจ ซึ่งก็น่าอ่านไม่ใช่น้อย สำหรับบล๊ิอกเกอร์หน้าใหม่อย่างผม.. ต้องนำมาปรับปรุงกับบล๊อกของตัวเองซะแล้วครับ ใครอยากอ่านก็ ตามที่มานี้ครับ (จากบล๊อกเดียวกัน)
Set indent in paragraph by us (การย่อหน้าในบล๊อก)
"How to get my paragraph getting indented like this, since I can not get any space more than 2.".. Please kindly help.
ตัวอ่างข้างบนนี้เป็นการย่อหน้าให้ดูครับ เพราะปรกติแล้วเมื่อเราพิมพ์อะไรลงไปในบล๊อกของเราจะไม่ย่อหน้าให้ แม้ว่าเราจะพิมพ์ให้ย่อหน้า เพราะว่ามันจะไม่แสดงช่องว่างระหว่างตัวอักษรเกินหนึ่งตัว
แล้วผมพิมพ์ให้เกิดย่อหน้าได้อย่างไร ไหนบอกว่าไม่สามารถแสดงช่วงว่างได้เกินหนึ่ง??
วิธีการย่อหน้า(Indent) ของข้อความในบล๊อกเราอยู่ หลาย เท่าที่ผมค้นพบตอนนี้ คือ ใส่อักขระที่ให้บราวเซอร์เราแสดงผลเป็นช่องว่างครับ นั่น คือ ใส่หนึ่งตัวเท่ากับหนึ่งช่องว่าง ถ้าต้องการให้เว้นวรรค หรือย่อหน้า 9 เคาะ ก็ใส่ไปเก้าตัวครับตัวอย่าง
"ข้อความในย่อหน้านี้ผมได้ใส่ ย่อหน้า 9 เคาะ(ตัวอักษร)เพื่อให้ข้อความนี้เว้นช่องว่าง(วรรค)ได้สวยงามครับ โดยท่านสามารถดูตัวอย่างได้ในข้างล่างนี้ครับ"
เปลียนเทมเพลท ครั้งที่ ๑
How to get Free Templates (CSS)
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552
มาสร้าง Web log หรือ Blog ส่วนตัวกันเถอะ
Firefox กินแรม RAM แก้อย่างไร
ปล. ใช้เฉพาะ Windows นะจ๊ะ
บทความ CSS
ตัวอย่างการการปรับแต่ง CSS ให้แสดง แบล็คคราวแบบเต็มจอ ศึกษาจากบล๊ิอกภาษาอังกฤษได้ที่นี่
อันนี้เป็นเทมเพลท ที่ค่อนข้างโปร เอาไว้ศึกษานะจะ เป็นเทมเพลทเทพ ๆ เลย ตามลิงค์
อันนี้เป็น CSS ในเรื่อง div ให้อยู่ตรงกลาง ลองศึกษาดูตามที่มา (ธีมเขาสวยดี ผมชอบ)
How to change Slide bar on Ubuntu Music Player
ปล. ตอนนี้กำลังหาอยู่ ยังไ่ม่ได้คำตอบเลย ได้แล้วจะมาบอก
วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552
How to Copy all file in CD/DVD to USB..
in windows user use xcopy for copy all files to USB (including Binary files & Bootable files) without no problem.
So in Linux, It should have the sulution with cp that simila to xcopy command line. also with the main page of the cp command here and some need the command grep and bash script especailly DOSBatch
I am finding out for it.... will update all soon.
http://www.ocforums.com/archive/index.php/t-519792.html
บทเรียนเรื่อง DIV by Realdev.truehit.net
ที่มา
http://realdev.truehits.net/article/js0004.php
Windows 7 on Acer Aspire one by Bongbang
ได้สอบถามกับอากู๋(เกิล) ปรากฏพบเจอรีวิวนี้เข้า โดยคุณ Bongbank รีวิวได้ค่อนข้างละเอียดครับ
ผมได้ติดต่อขอไฟล์อิมเมจแกไปแล้ว ซึ่งระหว่างรอแกตอบกลับ มามาดูว่าแกรีวิวได้อย่างไร ตามข้างล่างครับ
ด้วย ความซุกซนของผม หลังจากที่ได้ลองลง Windows 7 ตัวใหม่จาก Microsoft ที่ทางไมโครซอฟท์ออกมาโม้นักโม้หนา ว่ามันดีกว่า Windows Vista เป็นอย่างมาก และด้วยความที่เห็นเพื่อนๆ ที่บอร์ด Monavista กล่าวขวัญถึงสรรพคุณที่น่าสนใจ จนทำให้ผมหยิบมาลองเล่นจนได้ ครั้งแรกที่ได้ลอง ก็จัดการลงบนเครื่อง PC ซะ ขั้นตอนเป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่มีปัญหา (เพราะคอมพ์มันแรง) หลังจากที่ลองเล่นพบว่า มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก มี Feature เด่นๆ ที่ใช้งานได้ดีกว่าบน Windows Vista (คาดว่าคงเป็นผลมาจากการที่ตาบิล เกตต์ ไปวิจารณ์วิสต้ากับลูกน้อง) Feature ใหม่ๆ ที่น่าสนใจก็มีดังนี้
- Taskbar แบบใหม่ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ลดความเกะกะจากการเปิด tab มากๆ ได้เป็นอย่างดี LiveTask ทำได้ดีกว่า Vista
- ระบบ Random Theme ที่สวยงามเป็นอย่างยิ่ง มีการเปลี่ยนโดยการใช้การ fade เพิ่มความสวยงานได้เยอะ สามารถตั้งได้ว่า จะให้ เปลี่ยนทุกเวลาเท่าไหร่
- Boot Screen แบบใหม่ สวยงามมากกว่าเดิม ชม VDO Boot Screen ได้ ที่ http://video.mthai.com/player.php?id=9M1229095734M0
- Flip 3D เร็วขึ้นกว่าเดิม
- Window Media Player 12 ที่เปลี่ยนรูปแบบไปเล็กน้อย แต่ที่อึ้งก็คือ มันสามารถเล่นไฟล์ Codec H.264 ได้เลย โดยไม่ต้องลง Code เพิ่ม และยัง Support DXVA (Hardware Decode) ซะด้วย เล่นไฟล์ H.264 โดยที่ไม่กินทรัพยากร CPU เลยล่ะครับ
- Paint ตัวใหม่ ใช้ Ribbon เหมือนกับ Office 2007
- Internet Explorer 8 Beta ที่มีการแยก Process การทำงานของแต่ละ Tab เช่นเดียวกันกับ Google Chrome
โดย สรุป ฟังก์ชั่นคร่าวๆ ของเจ้า Windows 7 ก็เป็นแบบดังที่ได้กล่าวไว้ ถือได้ว่าเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจของ Microsoft เลยก็ว่าแต่ แต่..หลังจากที่ผมได้ลงเล่นบน PC แล้ว ก็เกิดความคิดที่จะนำมาลงบนเจ้าตัวเล็ก Acer Aspire One (หลังจากนี้จะเรียกว่า AA1) แต่ประเด็นแรกเลยก็คือ เจ้า AA1 ของผมเป็นรุ่น A110 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ SSD 8 GB เป็นหน่วยความจำสำรอง ไม่ใช่ Harddisk ดั่งรุ่นพี่ A150 แล้วเราจะทำยังไงดี เนื่องจาก Windows 7 ที่ผมได้ลงบน PC นั้น เมื่อลงเสร็จเรียบร้อย จะใช้ Disk Space ประมาณ 9 GB ทำให้ไม่สามารถนำมาลงบน AA1 ที่มีพื้นที่ ที่ใช้ได้จริงเพียง 7 GB กว่าๆ ได้แน่ผมจึงได้พบวิธีที่จะทำแผ่น Windows 7 ตัวตัด โดยได้แนวคิดนี้มาจากแผ่น Windows XP และ Vista ที่มีเวอร์ชั่นตัดตอน เพื่อลดประสิทธิภาพลง ก็ได้เจอ Software ชื่อว่า vLite ที่เป็น Tool แจกฟรี สำหรับ ตัดฟังก์ชั่นการทำงานของแผ่น Vista ตอนแรกก็เอะใจว่า จะสามารถนำมาใช้ได้หรือมั้ย ก็ได้ลองนำมาใช้ดู โดยการลดฟังก์ชั่นบางอย่างที่ไม่จำเป็นดังนี้
- Media Center
- Games บางส่วน
- Help
- Function For Tablet PC
- Speech Support
- natural Language
- Driver Modem Scanner
ซึ่งคิดว่าไม่มีปัญหา เมื่อนำมาใช้บน Aspire One แน่นอน หลังจากทำเสร็จ ก็ได้ไฟล์ Image ISO ที่มีขนาดเพียง 1.45 GB เท่านั้น
ขั้นตอนต่อไปก็คือการนำ ไฟล์ ISO ตัวนี้ไปติดตั้งลงบน SSD 8 GB บน AA1 ซึ่งจะไรท์ใส่แผ่นไปติดตั้งผ่าน External DVD ก็ได้ แต่เนื่องจากผมไม่มีจึงจำเป็นต้องทำการติดตั้งผ่านทาง USB Flashdrive โดยจะต้องใช้ USB Flashdrive ขนาด 2 GB ขึ้นไปในการทำแผ่นติดตั้ง Windows 7
วิธีทำให้ Flashdrive Boot เพื่อติดตั้้ง Windows 7 ได้
Note : จะต้องทำบน Windows Vista ขึ้นไปเท่านั้น XP ไม่สามารถสร้างไฟล์ด้วยวิธีนี้ได้
- Run cmd จากนั้นพิมพ์ diskpart
- เมื่อเข้าสู่หน้าต่างโปรแกรม Diskpart รอซักครู่จนพิมพ์ได้ แล้วพิมพ์ list disk
- select disk # (โดยที่ชาร์ปคือ เลข Disk ตัว Flash drive ของคุณ อย่าเลือกผิดเด็ดขาด)
- clean
- create partition primary
- select partition 1
- active
- format fs=fat32
- assign
- exit
หลังจากเรา Formate Flash Drive เรียบร้อยแล้ว กลับมาที่หน้าจอ CMD ให้พิมพ์คำสั่งว่า
xcopy d:\*.* /s/e/f e:\
โดยในที่นี้นั้น d:\ คือไดร์ฟต้นทาง (ข้อมูลในแผ่น Windows) และ e:\ คือ ไดร์ฟของ Flash Drive (สำหรับ D:\ นั้นให้ใช้โปรแกม Image Drive จำลองไดร์ฟขึ้นมาเอง) รอจน Copy ไฟล์เสร็จเรียบร้อย ก็ เอา Flash Drive ออก แล้วมาเสียบเข้ากับเครื่อง AA1 ครับ
ลง Windows 7 บน Aspire One
- หลังจากขึ้นหน้าจอ Boot แล้ว ให้กด F12 เพื่อเลือกว่าจะ Boot จาก USB
- เข้าสู่หน้าจอติดตั้ง Windows 7 ทำการติดตั้งอย่างง่ายดาย คลิกตาม Next ไปเรื่อยๆ
- จนถึงหน้าเลือก Partition แนะนำว่า ให้ ทำการลบ Partitions ทิ้งเสียก่อน จากนั้นทำการ New ขึ้น มาใหม่ จะพบว่า Windows จะบังคับให้สร้างไฟล์ขนาด 200 MB ขึ้นมาอีกไดร์ฟนึง เพื่อเก็บไฟล์ Systems ก็ให้ทำตามนั้น แล้ว เลือกไดร์ฟที่เหลือ เพื่อลงวินโดว์
- นอน ตีพุงรอสำหรับขั้นตอนนี้ เพราะว่า มันจะทำการ Copy File แตกไฟล์ และติดตั้งไฟล์ อัตโนมัติ ขั้นนี้จะนานมาก กินเวลาประมาณ 1-2 hr. ได้เลย ขึ้นอยู่กับความเร็วของเครื่องและ Flash drive ของท่าน
- จะมีการ Restart รอบหนึ่งก่อน แล้วจะติดอยู่ตรง สถานะ Completing installation ซึ่ง จะนานมากๆ อย่าเพิ่งตัดใจ รอไปก่อน (ตรงจุดนี้ รอบแรก ผมนึกว่าค้างเลย Restart เครื่องสรุปว่าต้องลงใหม่) รอไปครับ โดยจะมีจุดที่ให้ความหวังอยู่จุดหนึ่ง คือ ตัวระบบจะสามารถ Detect การ์ดจอได้ ทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น นั้น แสดงว่ามันไม่ได้ค้างครับ แต่ถ้ารอนานมากแล้ว มันยังไม่ Detect ให้จอชัดขึ้นล่ะก็ Restart แล้วลงใหม่เถอะครับ lolz หลังจากเสร็จขั้นตอน เครื่องจะ Restart เอง
- เข้าสู่หน้าจอ Welcome ระบบจะให้เรากำหนด ตั้งค่าต่างๆ ตั้งตามใจชอบ
- ก็จะได้ Windows 7 On Aspire One สมใจอยากครับ
การปรับแต่งลดขนาดเพิ่มเติมให้กับ Windows 7 on AA1
- ทำการปิดระบบ System Protection หรือที่รู้จักในนาม System Restore โดยคลิกขวาที่ My com => properties => System Protection เลือกที่ drive C กดที่ Configure แล้ว turn off ซะ
- ปิด Paging File โดยคลิกขวาที่ My com => properties => Advance => Setting ที่ Performance=> Advance => change => เอาติ๊กถูกด้านบนออก => เลือก No paging File => กด Set แล้ว Ok ออกมา
- ลบ Hibernate File ทิ้งซะ ไปที่ My Com => คลิกขวาที่ไดร์ฟ C เลือก properties=> Disk Cleanup => ติีกถูกหน้า Hibernate File =>Ok พอลบแล้ว เข้ามาเช็คอีกครั้ง ว่า Hibernate File เป็น 0 แล้ว
- ปิด Index File ไปที่ My Com => คลิกขวาที่ไดร์ฟ C เลือก properties=> เอากาถูกหน้า Allow file on บราๆๆ ด้านล่างสุดออก แล้วกด OK (ขั้นตอนนี้รอนานมาก ซัก 40-60 นาทีได้ สงสัยไฟล์มันจะสร้างเอาไว้เยอะทุกรูขุมขนจริงๆ)
เมื่อคุณทำเช่นนี้เสร็จคุณจะได้ Windows 7 บน AA1 ที่มีขนาดเพียง 3 GB กว่าๆ และมีพื้นที่ให้คุณใช้สอยบน SSD ได้อีกกว่า 4 GB ครับ สำหรับการปรับแต่งอื่นๆ เช่นระบบ Registry คุณสามารถปรับแต่งได้เหมือนกัน Windows Vista ครับ
Score test on AA1 (รูปเพิ่มเติม)
-
Processor 2.2 (Intel Atom N270 1.60 Ghz)
-
memory 4.4 (DDRII 1.5 GB)
-
Graphic 2.2 (Intel GMA950)
-
Gaming 3.0 (Intel GMA950)
-
Primary Harddisk 2.0 (SDD 8 GB)
- Use Space 3.4 GB , Free Space 3.95 GB
- Use Memory ประมาณ 430-480 MB เพื่อเปิดเครื่อง
- อืดบ้างเมื่อ Access SSD หนักๆ แต่เมื่อปิด Paging File แล้ว เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- สามารถเปิด Aero ได้โดยไม่ต้องลงไดร์ฟเวอร์เพิ่ม มีการลง Driver Intel เวอร์ชั่น 8 กว่าๆ ให้แล้ว
- เสียงสามารถใช้งานได้ทันที
- Lan สามารถใช้งานไดทันที
- Card reader ด้านซ้าย สามารถใช้งานได้ทันที
- Wireless Lan จำเป็นต้องนำ Driver มาลงเพิ่ม (สามารถลงไดร์ฟเวอร์ตัวเดียวกับบน XP ได้เลย) ไม่ขึ้นไฟของ Wireless และใช้ปุ่ม เปิด-ปิด ไม่ได้
- บอกสถานะของ Batt เรียบร้อยดี
- สามารถใช้ Fn Key เพื่อลดเสียง เพิ่มเสียง ปรับความสว่างหน้าจอได้ แต่ไม่ขึ้นสถานะบนจอ
- Boot Screen แบบใหม่นั้น ใช้งานได้เมื่อลงกับ PC แต่พอลงบน AA1 ทำไมมันไม่ขึ้นก็ไม่รู้ มันยังเป็น Boot Screen แบบเก่า เหมือนกับ Vista
- ใช้งานได้ 30 วัน
ปล.สำหรับไฟล์แผ่นติดตั้ง Windows 7 ที่ผ่านการปรับแต่งลดขนาดแล้วนั้น ผมไม่สามารถแจกทางหน้าเว็บโดยตรงได้ หากใครต้องการ สามารถส่ง Email มาขอได้ที่ b@bongbank.net ส่วนการถามตอบวิธีการหรือเทคนิคทั่วไป สามารถถามได้ผ่านทาง Blog แห่งนี้ หรือเว็บบอร์ดที่ผมนำบทความนี้ไปโพสต์ และสำหรับผู้ที่อยากนำบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาให้ Credit ลิ้งค์มาที่ Blog แห่งนี้ด้วยนะครับ
Windows 7 เป็นซอฟท์แวร์ซึ่งมีลิขสิทธิ์โดยบริษัทไมโครซอฟท์ โดย Windows ตัวนี้เป็นเพียงเวอร์ชั่น Pre-beta เป็นซอฟท์แวร์ที่มีสภาพสำหรับเพื่อศึกษา ทดลองใช้งาน จึงอยากให้ทดลองใช้อย่างถูกต้อง และสนับสนุนผลิตภัณฑ์อย่างถูกลิขสิทธิ์เมื่อซอตท์แวร์เวอร์ชั่นเต็มออกวาง จำหน่าย
หนังสือดี ๆ เดี่ยวกับการสร้างและออกแบบชุดตัวอักษร Font Book
ที่มา..
http://ftp.opentle.org/pub/national-fonts/FONTBOOK.PDF
Command Line try easy by JuUier's blog
ข้างล่างนี่เป็นส่วนที่ผมคิดว่ามีประโยชน์กับตัวเองครับ
Linux file system
- in linux don't have drive every drive is folder
- / call "root" is top of directory in linux file system
- /bin : essential binaries
- /boot : static files of boot loader
- /etc : host specific system config
- /usr : shareable and read-only data
- /var : variable data files
- /sbin : system binary
- /tmp : temporary files delete on bootup
- /dev : location of special or device files
- /home : user home directory
- /lib : library and kernel modules
- /media : mount files
- /opt : add-on application software
- /root : home of root
Command prompt
- username@hostname:~$
- "username" is user in linux system
- "hostname" is computer name
- "~" working directory
- "$" is permission (and # for root)
Command-line pattern
- [command]
- [command] [option]
- [command] [option] [file or path]
- [command] [file or path] [option]
- [command] [option] [file or path] [file or path2]
Special path
- "." is current directory
- ".." is parent directory
- "~" is home directory
File of linux system
- File
- Hidden file
- Directory
- Link
Help for linux by
- "man"
- "--help"
Note: '=>' = mean
### File command
$ ls -la => directory listing with hidden files
$ cd dir => change directory to dir
$ cd|cd ~ => change to your home
$ pwd => print work directory for show current directory
$ mkdir dir => create directory dir
$ rm file => remove file
$ rm -r dir => remove directory dir
$ rm -f file => force remove file
$ rm -rf dir => force remove dir
$ cp file1 file => copy file1 to file2
$ cp -r dir1 dir => copy dir1 to dir2, create dir2 if it doesn't exist
$ mv file1 file2 => rename or move file1 to file2 if file2 is an existing directory, moves file1 into directory file2
$ ln -s file link => create symbolic link link to file
$ touch file => create or update file time stamp
$ cat file => output the content of file
$ cat > file => places standard input into file instead text editor ^^' and stop by ^c (^ is ctrl)
$ cat file1 > file2 => copy content in file1 replace to file2 if files is an existing
$ cat file1 >> file2 => copy content in file1 append to file2 if files is an existing
$ more file => output the content of file each page
$ less file => output the content of file and can go to next or previous page
$ head file => output the first 10 lines of file
$ tail file => output the last 10 lines of file
$ div file1 file2 => output difference content between file1 and file2
### Searching
$ grep pattern files => search for pattern in files
$ grep -r pattern dir => search recursively for pattern in dir
$ grep ^pattern files => search begin by pattern
$ command | grep pattern => search for pattern in the output of command
$ locate file => file all instances of file
### Process management
$ ps => display your currently active processes
$ ps -aux => display any your currently processes
$ top => display all running processes and change display every 1 sec
$ htop => third party program same 'top'
$ kill pid => kill process id pid
$ killall program => kill all processes named proc (use with extreme caution)
$ bg => lists stopped or background jobs; resume a stopped job in the background
$ fg => brings the most recent job to foreground
$ fg n => brings job n to the foreground
$ /etc/init.d/serv start|stop|restart|reload => for start stop service
### Shortcuts
$ Ctrl+C => halts the current command
$ Ctrl+Z => stops the current command, resume with fg in the foreground or bg in the background
$ Ctrl+D => log out of current session, similar to exit
$ Ctrl+W => erases one word in the current line
$ Ctrl+U => erases the whole line
$ Ctrl+R => type to bring up a recent command
### System info
$ clear|reset => clear screen
$ echo pattern => display pattern
$ time command => use how long work with command
$ date => show the current date and time
$ cal => show this month's calendar
$ uptime => show current uptime
$ w => display who is online
$ whoami => who you are logged in as
$ finger user => display information about user
$ uname -a|r => show kernel information
$ cat /proc/cpuinfo => cpu information
$ cat /proc/meminfo => member information
$ man command => show the manual for command
$ df => show disk usage
$ du => show directory space usage
$ free => show memory and swap usage
$ whereis app => show possible locations of app
$ which app => show which app will be run by default
### Compression
$ tar cf file.tar files => create a tar named file.tar containing files
$ tar xf file.tar => extract the files from file.tar
$ tar czf file.tar.gz files => create a tar with Gzip compression
$ tar xzf file.tar.gz => extract a tar using Gzip
$ tar cjf file.tar.bz2 => create a tar with Bzip2 compression
$ tar xjf file.tar.bz2 => extract a tar using Bzip2
$ tar tf|tvf file.tar|.gz|.bz2 => display content in zip file
$ gzip file => compresses file and rename it to file.gz
$ gzip -d file.gz => decompresses file.gz back to file
### Network
$ ping host => ping host and output results
$ whois domain => get whois information for domain
$ dig domain => get DNS information for domain
$ dig -x host => reverse lookup host
$ wget file => download file
$ wget -c file => continue a stopped download
$ ssh|telnet user@host => remote host
$ ftp|sftp host|user@host => remote ftp host
$ scp file user@host:path => copy file to remote host
Example:
$ scp file1 user@somehost:/opt => copy file1 to /opt of remote host
### Installation
$ Install from source:
./configure
make
make install
$ dpkg -i pkg.deb => install a package (Debian)
$ dpkg -l => display installed package in system
$ dpkg -l program => display program info
$ apt-cache search program => for search program
$ apt-cache show program => for show detail of prog and dependent library
$ sudo apt-get install program => install program
$ sudo apt-get update => update package repository
$ sudo apt-get upgrade => upgrade program in system
$ sudo apt-get remove program => remove program
$ sudo apt-get build-dep prog => only install dependent package of program
$ rpm -Uvh pkg.rpm => install a package (RPM)
### File permissions
$ chmod octal file
=> change the permissions of file to octal
,which can be found separately for user,group
, and world by adding;
4 - read (r)
2 - write (w)
1 - execute (x)
Examples:
$ chmod 777 => read, write, execute for all
$ chmod 755 => rwx for owner, rx for group and world
$ chmod ugo+|-rwx => u = owner, g = group , o = other
$ chown user.group file => change to another user and group
For more options, see man chmod
### Forward output and something special
- ";" => run command finished can run command2 automatic by use ';'
Example:
$ chmod o+w file1 ; chmod o-rx file1
- "`" => is call 'backtrix' sinagure
Example:
$ passwd `whoami` => for change password current user logined
$ apt-get install linux-headers-lbm-`uname -r`-xen
$ !! => repeates the last command
- "&&" => same ";"
- "&" => run program finished and can do any thing with that shell
Example:
$ gclctool & => run calculator and can use that shell to any thing
- ">" => forward output
Example:
$ ls -l > file1 => output of ls -l overwirte into file1 if exist file1
- ">>" => forward output append
Example:
$ ls -l >> file1 => output of ls -l append into file1 if exist file1
- "\" => use in long command
Example:
$ chmod o+w file1 \
;chmod o-rx file1 \
;chmod o+rx file1
- "<" => don't explain ^^' it reverse with ">"
Example:
$ mysql user < file1 =""> for check md5sum
- 0|1|2 => get type of output 1 is valid output, 2 is error output , 0 all output
Example:
$ ./configure 2> file => for get only error output into file
### Application and Utility
$ lsusb|lspci => display device usb or pci type
$ fdisk => display disk device
$ mount|unmount => mount partition
Example:
$ mount -a => mount all device in /etc/fstab
$ script file => use record keylogger and press ^D for stop
$ ttyrec file => third party program same 'script' it for record keylogger
$ ttyplay file => display file so create by ttyrec
$ alias 'alias=command' => for create alias instead long command
Example:
$ alias 'll=ls -l'
$ unalias alias => cancel alias name
Example:
$ unalias ll
$ chroot => program for change eviroment for work
Sample chroot: when u use live cd if u must to use enviroment real system
Useful chroot: use chroot in live cd to correct real enviroment system but u must know path for config file
$ history => for display all old command
### Administration tools
$ sudo|gksudo => became to root and do it
note: edit permission sudo config file /etc/sudoers
$ su => switch to root
$ sudo visudo => can use this command only debian base
$ shutdown -h now|poweroff => shutdown machine can can define time for shutdown by number minute instead "now"
$ shutdown -r now|reboot => for reboot machine can define time for rebott
- setting ip /etc/network/interface
- setting dns /etc/network/resolve.conf
- cron , crontab
Example:
$ crontab -l => list task in cron of current user
$ crontab -e => for edit cron can see detail in wiki enter * 5 char , * is every day)
note: if for some command need permission root , solve by crontab -e by sudo sample 'sudo crontab -e'
Example:
$ crontab -e
* * * * * touch ~/test-cron.txt
$ sudo adduser|useradd user => add user
$ sudo deluser user1 => remove user
note: u can check exist user by "ls /home"
### Text editor
- pico , nano
- vi stantdard editor in unix system
- searching => default mode type '/word', press n|shift+n for find next and previous
- delete line => default mode type 'dd'
- save file => default mode ':w file'
- exit file => default mode ':q!'
- save and exit => default mode ':wq file'
- go to line => default mode n+Shift+G => n is number of line to go
References:
- Tranning 13 of ubuntuclub.com
- Clil command picture by Teddy in ubuntuclub.com
- and juuier a bit
- http://www.oreillynet.com/linux/cmd/
- http://linuxcommand.org/
VirtualBox 2.1 Review by JuUiE's Blog
อันนี้เป็นบล๊อกเขารีวิวไว้โดยคุณ JuUiE เห็นว่ามีประโยชน์เลยนำมาแปะไว้ใน Blog ตัวเอง(เผยแพร่แบบให้ Credit นะ) เอาไว้ใช้อ้างอิง ส่วนใครอย่างอ่านเต็ม ๆ ก็ตามลิงค์ครับ
Reason for upgrade to VirtualBox 2.1.0
เหตุผลที่ต้องอัพเกรด virtualbox เป็น 2.1 จาก 2.0.6 สำหรับเรานะ# ก็เคยเล่าเกี่ยวกับ virtualbox (vb) ว่ามันมีความสามารถ เกือบเทียบเท่า vmware แล้วนะ
# แต่เสียอย่างเดียวการที่จะทำให้เครื่อง vos เป็นส่วนหนึ่งของ lan มันค่อนข้างยุ่งยาก
# เวอร์ชั่น 2.0.6-- ส่วนของ interface มันจะมีให้เลือก 2 แบบ คือ NAT และ Host Intereface
# ถ้าเราเลือกแบบ NAT มันจะเล่นได้แต่ จะไม่พบเครื่อง vos ใน LAN
# และ เครื่อง parent กัน vos ก็ ping กันไม่เจอนะ เพราะ ไรก็ไม่รู้ไม่ค่อยมีความรู้เหมือนกัน
# แต่ถ้าเลือก Host Interface และ สร้าง Interface เพิ่มทำการแชร์ Internet ให้ interface ที่เราสร้าง
# ก็จะทำให้ vos เล่นเน็ต และ ping กับ parent host เจอแต่มันก็ไม่เป็นส่วนหนึ่งของ LAN อยู่ดี
# เสริมหน่อย ถ้าเป็น vmware มันต้องเลือกแบบ bridge มันจะทำให้ vos เป็นเครื่องๆ หนึ่งในวง LAN
# ถึงตอนนี้ยังคอนฟิก Bridge ให้ vb มะเป็นเลย ^^' ขี้เกียจมากๆ เจออยู่นะแต่อ่าน ภาษาต่างปะเทศมะรู้เรื่อง
# เห็นในเว็บหลายเว็บมีลิ้งบอกประมาณ vb เค้าออกเวอร์ชั่นใหม่ ต่อจาก 2.0.6 คือ 2.1.0
# ตอนแรกว่าจะไม่ ติดตั้งไอ้เวอร์ชั่น 2.1 แล้วแต่อยากรุ้ว่ามันมีอาไรดีขึ้นบ้างหรือป่าว
# คือ ก็หวังเล็กๆ นะว่าปัญหาของเราอาจจะหมดไปกับ 2.1
# ไม่น่าเชื่อครับ ลองเข้าไปที่ setting ของ vb ที่ Network เมื่อเราเลือกเป็น Host Interface ที่ Attached:
# ปกติตรง Host Interfaces เราต้องสร้าง Interface เองนะ แต่ไง๋มันเอา interface บนเครื่องจริงมาให้แสดง
# ตอนแรก งงนะ แต่พอลองเลือกแบบ Host Interface และลองรัน vos ดูมันเล่นเน็ตได้ และ เป็นเครื่องส่วนหนึ่งของวงแลนด์ด้วยอ่ะ ^^'

# และปุ่มด้านขวา Add/Remove Interfce ก็หายไปด้วยง่ะ
# พอลองเลือกเป็น ethernet ตัวที่ไม่ใช่ wi-fi แล้วลองเปิด vos ตกใจหมดเลยมันได้ ip จาก dhcp ของ LAN ด้วยอ่ะ พอลอง ping ไปที่เครื่องอื่นในวงแลนด์ โอ้แม่เจ้ามัน reply ไม่เสียด้วยล่ะ ^^'
# อีกนิดนะ คือ เราต้องเลือก interface ที่กำลังต่อ LAN อยู่อ่ะ ถ้าเราเลือกเป็น interface ของ wi-fi แต่เราไม่ได้ใช้มัน เวลาเปิด vos มันก็ไม่ได้ไอพี และ มันก็จะเป็น stand alone นะ
# สรุป เลือก interface ที่กำลัง active อยู่แค่นี้เองครับ
# พอลอง ping จาก parent host ที่เครื่องอื่นๆ ใน LAN มาที่ vos มัน reply ด้วยล่ะ ^^'
# ปัญหาที่แก้ไม่ได้เรื่อง bridge ก็ไม่ต้องแหละ ขอแค่นี้ล่ะที่ต้องการ
# แต่ไม่แน่ใจไอ้ที่สำหรับลงบน linux มันจะใช้ได้เหมือนกันมั้ยหว่า ต้องลอง
# เสริมนิดคือ อย่าลืมติ๊กเลือกที่ Cable Connected ด้วยนะไม่งั้นเลือก interface แบบใหนมันจะเหมือน stand alone นะขอบอก ^^' ถ้าเราลืมก็ไม่ต้องปิด vos แล้วตั้งค่าหรอกครับแค่ active adapter มันหน่อย
# อันนี้สุดท้ายจริงๆ การออกจาก vos ให้เรากดที่ Ctrl ปุ่มขวานะครับ (ctrl+alt เหมือน vmware มันจาไม่ออกให้เด้อขอบอก)
# เปรียบเทียบ interface ระหว่าง vmware กับ virtualbox
NAT = NAT
Private Host = Host Interface (2.06--) คิดว่านะ
Bridge = Host Interface (2.1.0++) คิดว่านะ
# ส่วน Interface แบบ Internal Network ใน VirtualBox ไม่รู้ว่าใช้ไงหว่า ^^' โง่ครับ
# ที่เขียนมาโมเมเอาครับ อ่าน Help ของโปรแกรมน่าจะดีกว่า ^^' แต่เรามะค่อยรู้เรื่องเลยมีแต่ภาษาบ้านเกิดทั้งนั้น
Tip & Trick Switching mode
# ใน vb ก็ไม่ต่างกับ vmware มากอ่ะครับ เรื่องความสามารถเนี๋ย
# เราสามารถตั้งโหมดให้ guest os เราเป็นแบบ full screen mode โดยเข้าไปคลิกที่เมนู
Machine => Fullscreen Mode หรือ (Host + F)
# จะออกจาก full mode ก็อันเดิม อ้าวแล้ว menu bar หายไปใหนหว่าแล้วตูจาคลิกที่ใหนหว่ากำ - -'
# ใช้ shortcut สิครับ Host + F แล้วไอ้ตัว Host นี่ปุ่มใหนหว่า
# Host มันจะเท่ากับ Right Ctrl
# Ctrl ปุ่มขวา + F สำหรับสลับ mode
# Ctrl ปุ่มขวา + Home มันจะแสดง popup เมนูให้

# แค่นี้ก็อยากเขียนเป็น log น้อเรา ^^'
วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552
Unix ความรู้เบื้องต้น พร้อม คำสั่งพื้นฐาน Basic Command Line
ตอนนี้กำลังง่วนเกี่ยวกับกับ Linux Ubuntu พร้อมทั้งทำบล๊อกของตัวเองไปด้วย จะได้เก็บไว้อ้างอิง ขณะที่กำลังปรับแต่ง(ศึกษา)ลินุกส์ตัวโปรดอยู่นี้ ก็ต้องใช้ระบบการจัดการไฟล์ต่าง ๆ ใน Linux จำพวก การเคลื่อนย้ายไฟล์(Copy), การเปิดไฟล์เพื่อคอนฟิกค่า โน้น นี้ นั้นพอสมควร เลยขัดไม่ได้ที่จำเป็นต้องพึ่งพา เทอมินอล(Terminal) และใช้บรรทัดคำสั่ง(Command Line)บ้าง ข้อสังเกตุอย่างหนึ่งซึ่งเพิ่งเปลี่ยนมาใช้ Linux ได้ไม่นานก็คือ หาทางหลีกเลี่ยงการใช้ บรรทัดคำสั่ง (Command Line)ยากจริง ๆ ถึงแม้ว่าตัวลินุกส์เองจะเตรียมพื้นฐานของ User Interface มาเพียงพอต่อความจำเป็นใช้งานแล้วก็ตาม เนื่องจากติดขัดบางอย่างในเรื่องไฟล์ซิสเต็มของลินุกส์นั่นเอง เลยต้องหาคำสั่งพื้นฐานมาเพื่อใช้ในการอ้างอิง โดยบทความข้างล่างนี้เป็นบางตอนจากที่มาตามลิงค์นี้นะครับ ซึ่งผมก็คิดว่าน่าจะเพียงพอกับความต้องการใช้ในปัจจุบันของเรา ๆ ท่าน ๆ พอสมควร นอกจากนีั้ในก็ยังมี Basic Command Line สำหรับผูเริ่มต้น(ภาษาอังกฤษ)สำหรับอ้างอิงด้วย
Unix File System
ประเภทของไฟล์
* Regular File(-) เป็นไฟล์ปกติที่สร้างจาก Editor หรือสำเนามาจากไฟล์อื่น โดย
* Directory (d) เป็นไฟล์ที่เก็บไฟล์ต่าง ๆ หรือ directory
ใช้สัญลักษณ์ / แทน root directory
* Character device file (c) เป็นไฟล์ชนิดพิเศษ เรียกว่า
* Block device file (b)
* UNIX domain sockets (s) อยู่ใน BSD Unix
* Name pipes (p) ของ AT&T
* Symbolic link (l)
การตั้งชื่อไฟล์หรือ directory
* จะใช้ตัวอักษรใดในการตั้งชื่อก็ได้ ยกเว้นตัวอักษรต่อไปนี้ & * ( ) ; ‘ “ , < > /
* ตั้งชื่อได้ยาวไม่จำกัด
* ตัวอักษรตัวเล็กหรือตัวใหญ่ถือว่าแตกต่างกัน
* ในเชลล์จะรับคำสั่งรวม Argument หรือชื่อที่สั่งให้ทำงานได้ไม่เกิน 225 ตัว
การอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูลหรือ directory
* ระหว่างชื่อแฟ้มข้อมูลกับ directory หรือระหว่าง directory กับ directory ใช้เครื่องหมาย “/” เป็นตัวคั่น
* Absolute Path Name เป็นการอ้างชื่อเต็มของแฟ้มหรือ directory เช่น /unix, /usr/home/seree, /etc/passwd
* Relative Path Name เป็นการอ้างชื่อแฟ้มหรือ directory โดยมีการสัมพันธ์กับตำแหน่งปัจจุบัน
. (current directory)
.. (parent directory)
./office (relative from current directory)
../office (relative from parent directory)
Home directory
* Home directory เป็น directory บ้านของผู้ใช้
* ผู้ใช้ชื่อ seree
home directory คือ /usr2/home/seree
คำสั่งทั่วไปของยูนิกซ์
* clear ลบจอภาพ
* date แสดงวันที่
* logname แสดงชื่อผู้ใช้
* hostname แสดงชื่อ Host
* cal แสดงปฏิทินเดือนปัจจุบันของเครื่อง
* cal 1997 แสดงปฏิทินคศ. 1997
* cal 10 1997 แสดงปฏิทิน เดือนตุลาคม คศ. 1997
คำสั่งทั่วไปของยูนิกซ์
* banner HELLO แสดงข้อความตัวใหญ่
* echo I Love You แสดงข้อความบนจอภาพ
* whoami แสดงชื่อผู้ใช้งานขณะนั้น
* who am i แสดงชื่อผู้ใช้งาน เวลาที่เข้าสู่ระบบ หมายเล เครื่อง
* pwd แสดงชื่อ directory ที่ใช้งานขณะนั้น
คำสั่งนี้ใช้ในการแสดงรายชื่อไฟล์และไดเรกเทอรี่ ย่อยที่มีอยู่
รูปแบบ : ls [option] [filename]
option
-a แสดงรายชื่อไฟล์และไดเรกเทอรี่ย่อยที่มี อยู่ทั้งหมดรวมถึงไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย “.”ที่ซ่อนไว้ ซึ่งปกติจะไม่แสดง ให้เห็น
-b แสดงตัวอักษรที่ไม่สามารถแสดงผล ได้แบบปกติ
-c แสดงผลแบบหลายคอลัมน์
-d แสดงแค่ชื่อไดเรกเทอรี่โดยไม่แสดงชื่อ ไฟล์ที่อยู่ข้างใน
-f บังคับให้มีเครื่องหมาย “/” อยู่หลังชื่อไดเรกเทอรี่ และเครื่องหมาย “*” อยู่หลังชื่อไฟล์ที่รันได้
-l แสดงผลแบบยาว
ตัวอย่าง
% ls
% ls -l
% ls -la
% ls -f
คำสั่ง cd (Change directory)
* เป็นคำสั่งที่ย้าย ไปยัง directory อื่นที่ต้องการ
* รูปแบบ cd directory_name
* ตัวอย่าง
cd /usr2/home/seree
cd ../seree
cd
cd ..
คำสั่ง cp
* เป็นคำสั่งสำเนาไฟล์ข้อมูลไฟล์เดียวหรือหลายไฟล์ เหมือนกับคำสั่ง COPY ที่ใช้กันอยู่บน DOS
รูปแบบ cp [option] [source_filename] dest_filename
-i จะมีการแจ้งเตือนและทำการถามเมื่อชื่อไฟล์ ปลายทางนั้นมีอยู่แล้ว
-p บังคับให้ทำการคัดลอกคุณสมบัติทุกอย่างจาก ไฟล์ต้นฉบับ
-r ถ้าหากว่าไฟล์ที่ต้องการนั้นเป็นไดเรกเทอรี่ ทาง เลือกนี้จะทำการคัดลอกทุก ๆ ไฟล์ในไดเรกเทอรี ไปยังที่ ๆ ต้องการ
ตัวอย่าง
1. สำเนาไฟล์
% cp letter letter.sav
2. สำเนาไฟล์ที่มีส่วนขยายเป็น c ไปไว้ใน directory ชื่อ archives
% cp *.c archives
3. สำเนาไฟล์ชื่อ memoจาก directory ชื่อ /home/seree ไปยัง directory ปัจจุบัน
% cp /home/seree/memo .
4.สำเนาไฟล์ชื่อ memo และ letter ไปยัง directory ชื่อ /home/jenny
% cp memo letter /home/jenney
คำสั่ง mkdir
* ใช้สำหรับสร้าง directory
* รูปแบบ
mkdir directory_name directory_name …
* ตัวอย่าง
% mkdir tutor
คำสั่ง rmdir
* ใช้สำหรับลบ directory โดย directory ที่จะจะลบต้องเป็น directory ว่าง ถ้ามีแฟ้มอยู่จะต้องลบแฟ้มออกก่อน
* รูปแบบ
rmdir directory_name directory_name …
* ตัวอย่าง
% rmdir xyz
คำสั่ง rm
* ใช้สำหรับลบแฟ้มข้อมูล สามารถดำเนินการพร้อมกันได้หลายแฟ้ม
รูปแบบ :
rm [-i] filename [filename] ...
ตัวอย่าง
% rm data.txt
% rm -i report.txtt
คำสั่ง mv
* ใช้สำหรับย้ายแฟ้มข้อมูล สามารถดำเนินการพร้อมกันได้หลายแฟ้ม
รูปแบบ :
mv filename filename
mv filename [filename…] directory
ตัวอย่าง
% mv data.txt demo.txt
% mv report.txt units
คำสั่ง w
คำสั่ง“w”ใช้ในการตรวจสอบว่าในขณะนี้มีใครกำลังทำ อะไร อยู่ในระบบเดียวกันกับเราบ้าง
รูปแบบ : w[ทางเลือก] [user-account]
ตัวอย่าง :
bucc% w
10:30 am up 6 days, 16:45, 3 users, load average 1.30 1.31 2.00
User tty login@ idle JCPU PCPU what
u3510011 pts/11 6:22am 1 7:35 26 w
คำสั่ง who
* เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อของผู้ใช้ ทีกำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น
* รูปแบบ
who [am I]
* ตัวอย่าง
% who
jenny tty01 Jul 25 11:01
alex tty11 Jul 25 18:11
คำสั่ง finger
คำสั่ง “finger” ใช้ในการตรวจดูว่า มีใครกำลังใช้งาน อยู่ ในระบบที่เราต้องการตรวจสอบ
รูปแบบ : finger [user-account] [@hostname...]
ตัวอย่าง :
1. ใช้ในการตรวจดูผู้ใช้ในระบบ
% finger
Login Name TTY Idle When Where
u3420245 Nongluck Chutratane pts/18 Mon 08.24 CS2.au.ac.th
u3710855 Suhaalaj Barua pts/39 1 Mon 09:23 CS1.au.ac.th
% finger @nontri.ku.ac.th
[nontri.ku.ac.jp]
User RealName What Idle TTYHost Console Location
dahlan dehlan Phan pine 0:53 co wine hn HIRQakl Nishin -csh 1:13 p3 fizz (cxsf:0.0)
kazuo KazuoSatou pino 0:33 p1 fizz (:0.0)
mleno Tsutomu Mleno pine 0:29 p4 beer allbu:s.o)
คำสั่ง pwd
ใช้ในการตรวจดูตำแหน่งไดเรกเทอรี่ปัจจุบัน
รูปแบบ : pwd
ตัวอย่าง
% pwd
คำสั่ง cat
* เป็นคำสั่งใช้แสดง content ของไฟล์ ทั้งหมดโดยไม่มีการหยุดให้ดู
* รูปแบบ
cat [options] [file-list]
ตัวอย่าง
% cat list.txt
% cat -n list.txt
คำสั่ง more
* เป็นคำสั่งใช้แสดง content ของไฟล์ ทั้งหมดทีละจอภาพ ถ้าต้องการแสดงหน้าถัดไปทีละหน้าจอภาพ ต้องกด แป้น space bar ถ้าต้องการแสดงผลครั้งละบรรทัดต้องกดแป้น enter
* รูปแบบ
more filename [filename …]
ตัวอย่าง
% more list.txt
Permission
* สิทธิการใช้งานไฟล์หรือ directory ในระบบยูนิกซ์ มีดังนี้
- Read Permission สิทธิในการอ่าน แทนด้วยอักษร r
- Write Permission สิทธิในการเขียนอ่าน แทนด้วยอักษร w
- Execute Permission สิทธิในการ run แทนด้วยอักษร x
* ผู้ใช้สามารถดู Permission ของไฟล์หรือ directory ได้โดยการใช้คำสั่ง ls -l
สรุปการเปรียบเทียบคำสั่งบนระบบปฏิบัติการ DOS และ Unix
ความหมายของคำสั่ง บน DOS บน Unix
ลบแฟ้มข้อมูล del rm
เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล ren mv
แสดงรายชื่อแฟ้มข้อมูล dir Is
เปลี่ยน directory cd cd
สร้าง directory md mkdir
คัดลอกแฟ้มข้อมูล copy cp
เปลี่ยนรหัสผ่าน - passwd
คำสั่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
คำสั่ง write ใช้ในการเขียนข้อความส่งไปยังคนที่ต้องการ ที่อยู่ในHost
เดียวกันคำสั่ง นี้ไม่สามารถส่งข้อความไปยัง ผู้ใช้ที่อยู่ในระบบ อื่นๆ ได้
รูปแบบ
write [destination-user]
ตัวอย่าง
% write u3615022
Hello khun toy? How are you going?
กด Ctrl - d
คำสั่ง wall(write all)
* เป็นคำสั่งที่ส่งข้อความไปแสดงบนหน้าจอภาพของผู้ใช้ทุกคนที่กำลัง login อยู่ ใช้งานได้บน host เดียวกัน
* รูปแบบ
wall
คำสั่ง mail
* เป็นคำสั่งใช้สำหรับส่งจดหมายอีเล็กทรอนิก
* รูปแบบ
mailx username@hostname
* ตัวอย่าง
% mailx seree@bucc.buu.ac.th
subject : <---------พิมพ์หัวเรื่อง พิมพ์รายละเอียดของจดหมาย พิมพ์ . (จุด) คำสั่ง talk * เป็นคำสั่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ login อยู่ สามารถใช้บน host เดียวกันหรือต่าง host กันได้ * รูปแบบ talk username@hostname ผู้ส่ง : talk username@hostname usernameคือชื่อผู้รับที่กำลัง login hostname คือชื่อเครื่องที่ผู้รับใช้งาน ผู้รับ : talk username@hostname ผู้รับจะต้องตอบผู้ส่งเมื่อมี messageปรากฏบนหน้าจอ ถ้าต้องการติดต่อสื่อสาร usernameคือชื่อผู้ส่ง hostname คือชื่อเครื่องที่ผู้ส่งใช้งาน * ถ้าต้องการเลิกการติดต่อสื่อสารให้กด ctrl - c
ภาษาไทยใน Ubuntu PE 8.10 เพื่อการแสดงผล Firfox
หลังจากที่ผมได้ติดตั้ง Ubuntu 8.10 บน Virtualbox 2.1.2 แล้วการแสดงผลภาษาไทยใน Firefox ไม่เหมือนกับ Ubuntu PE 8.10 ที่เคยติดตั้งเป็นตัวหลัก เลยมี Mission ที่อยากจะปรับแต่ง Ubuntu ของตัวเองให้แสดงผลภาษาไทยให้สวยอย่างที่ Ubuntu PE เขาทำ เลยไปโพสท์ในฟอร์รัม(ข่าวเก่า)
ขออนุญาตินำ บทความที่คุณสมเจตน์ แห่งอูบุนตูคลับ "ฟอรั่ม" ตอบ มาใว้ในบทความผมนะครับ เพื่อเป็นการระลึกความทรงจำ ดังข้างล่างนี้ครับ
แก้ไขค่าจากแฟ้ม /etc/fonts/conf.avail/65-ttf-thai-tlwg.conf ระบุ Tahoma นำทุกๆ Family fonts สังเกตุว่าต้นฉบับใช้
ปรับค่าเกี่ยวกับฟอนต์ของไฟร์ฟอกซ์
ทดสอบความถูกต้องการแสดงผลของเว็บต่างๆ ตัวอย่าง ...
Memo3: ข้อสังเกตุ ไฟล์ 64-ttf-thai-tlwg.conf ของ Ubuntu 9.04 Alsha 3
ครั้งก่อน ๆ ผมมีปัญหากับการแสดงผลภาษาไทยใน FireFox พอสมควรเนื่องจากแบบชุดตัวอักษรที่แสดงออกมานั้นสวยเกินไป.. แถมยังเล็กในเวปข่าวบางเวป และเวป อูบุนตูคลับ ที่เข้าบ่อย ส่วนใน อูบุนตูฟอร์รัมนั้น ใหญ่ได้ใจ แต่เล่นFireFox ใน อูบุนตูPE หรือFireFox ในวินโดวน์ ไม่เห็นมีความรู้สึกอย่างนี้..เลยเข้าไปรบกวนบอร์ด อูบุนตูคลับถามปัญหาคาใจอยู่หลายวัน
หลังจากที่ได้ลอง ลง Ubuntu 9.04 Alpha 3 ปรากฎว่าภาษาไทย สวยแบบรับได้ครับ เลยจะลองเข้าไปแอบดูใน
/etc/fonts/conf.avail/65-ttf-thai-tlwg.conf แต่ไม่พบครับ พบแต่ 64-ttf-thai-tlwg.conf แทน ถึงแม้จะไม่เข้าใจแต่ก็คงเป็นไฟล์จัดการ Font ของระบบแบบเดียวกัน..เลยเข้าไปดูข้างในมา มีรูปแบบดังนี้
<?xml version="1.0"?>
<!DOCTYPE fontconfig SYSTEM "fonts.dtd">
<fontconfig>
<alias>
<family>serif</family>
<prefer>
<family>Kinnari</family>
<family>Norasi</family>
</prefer>
</alias>
<alias>
<family>sans-serif</family>
<prefer>
<family>Waree</family>
<family>Loma</family>
<family>Garuda</family>
<family>Umpush</family>
</prefer>
</alias>
<alias>
<family>monospace</family>
<prefer>
<family>TlwgTypo</family>
<family>TlwgTypist</family>
<family>TlwgMono</family>
</prefer>
</alias>
</fontconfig>
วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552
Memo2: ข้อสังเกตุ ไฟล์ 65-ttf-thai-tlwg.conf ของ Ubuntu PE
Memo1: การย่อหน้าในบล๊อกตัวเองด้วย Code(Tag) HTML
เป็นบทความบันทึกความทรงจำของตัวเองในเรื่องการเขียน บล๊อก สังเกตุว่าหลายบล๊อกเขาเขียนออกมาได้สวยงาม พอมาเขียนเองบ้างปรากฎว่าไม่ได้ เลยไปขอความรู้กับ อากู๋(เกิล)ได้ความตามนี้ครับ สิ่งที่ผมต้องการในขั้นแรกคือ ให้บทความของผมมีย่อหน้าครับ ซึ่งหมายถึงผมต้องจัดการกับ Paragraph นั่นเอง ซึ่งก็คือเราต้องจัดการกับ ฟังค์ชัน <p > ข้อความ < /p >
เราจะใช้รูปแบบปกติในการจัด Paragraph < p > เขียนข้อข้อความข้างใน < /p > โดยมีฟังก์ชันเพิ่มเกี่ยวกับการจัดรูปแบบ(Style)ของพารากราฟนี้ โดยการใส่ style ="????" ลงไป ตัวอย่างเช่น
โดยบทความที่เห็นในย่อหน้านี้ Code ดังนี้ครับ
< p style="text-indent:1in">เป็นบทความบันทึกความทรงจำของตัวเองในเรื่องการเขียน....< /p > แค่นี้ผมก็ได้ย่อหน้าในบทความของผมแบบสบายใจแล้วละครับ
Edited: ที่กล่าวข้างต้นเป็นการใช้ tag HTML ในรูปแบบ CSS
วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552
เจิมบทความแรก ใน บล๊อก แรกของตัวเอง
สวัสดีครับ ผมกระทาชายนาย freemanx ครับมาประเดิมเวป Blog แรกของตัวเองครับผมก็วางแผนการมาก่อนหน้านี้ประมาณ สองเดือนว่าอยากมีเวป Blog แบบที่ชาวบ้านเขามีสักเวปหนึ่งพยายามหาเวลาศึกษาอยู่หลาย ๆ เพลา แต่ก็ไม่ได้สักที มีอันให้ไปทำอย่างอื่นตลอด
ความสนใจอยากทำ Blog ของตัวเองเพราะว่า ในระยะเวลาประมาณ 6 เดือนก่อนหน้านี้ ผมหันไปสนใจกับลินุ๊กส์ (Linux) ที่มีชื่อแปลก ๆ แกมเท่ห์ว่า อูบุนตู (Uuntu) เพราะเคยสัญญากับตัวเองว่าไม่ว่าอย่างไร ชาตินี้ขอศึกษา ลินุกส์ สักครั้งก่อนตาย ซึ่งที่ผ่านมาเห็นลินุ๊กส์นั้นมีแต่ในตำราภาษาอังกฤษ ปวดหัว ที่สำคัญราคา "แพง" ได้ใจ - -" เลยมีแต่คำว่า "เอาไว้ก่อน" ให้กับตัวเองวันหนึ่งก็ได้ไปเดินแถวร้านขายหนังสือในห้าง... อุ๊ย !! แม่เจ้า.. ลินุ๊กส์ เพื่อมวลมนุษย์ชาติ อูบุนตู เล่มนิดส์เดี๊ยะ.. สองร้อยกว่าบาท.. -.- เลยตัดสินใจ เอาละวะอย่างน้อยก็ไม่ใช่พันกว่า เลยลองเอามาศึกษา ปรากฏว่า เลิกครับ.. ลินุ๊กส์บ้าอะไร ดูหนังวีซีดี ก็ไม่ได้ (เล่นเกมส์ออนไลน์ไม่ได้ ไม่ได้ว่า)แต่ลงเสร็จ ดูหนัง ฟัง เอ็มพีสาม ไม่ได้ นี่แอบเคืองครับ มันให้ต่อเน็ตให้โหลดวุ่นวาย โหลดมาเสร็จก็ยังต้องทำอย่างนี้อย่างนั้นอีก..ไหนบอกพร้อมใช้..พูดมาได้.. -*- ! เลิกคบจบกันลินุ๊กส์อูบุนตู
ในที่สุดก็ได้มาพบทางสวรรค์ www.ubuntuclub.com ครับพี่น้อง เลยเอาใหม่อีกรอบ และได้มีโอกาสได้เจอกับ สุดยอด อูบุนตูทีค่อนข้างเป็นมิตรกับผู้ใช้จริง ๆ ชื่อ Ubuntu PE ครับและแล้วลินุ๊กส์ก็ไม่งอแงกับผมอีกต่อไป.. ส่วนภาระกิจต่อไปก็ศึกษาตามที่เราอยากรู้ต่อไปครับ เป้าหมายคือ ไล่ตามฝันวันวานที่ว่า ตัวเราต้องเก่งลินุกส์ให้ได้ เย้ !! สู้ ๆ นะตัวเรา
ปล. ลำบากมากเลยครับกับแค่การเขียนบทความผมให้มันจัดย่อหน้า